สารัตถะของเฟอร์นิเจอร์

(The Essence of Furniture)

 

เฟอร์นิเจอร์เป็นคำเรียกออกเสียงตามภาษาอังกฤษ

คือ Furniture”

ซึ่งมักเข้าใจโดยทั่วไปว่าหมายถึง

ตู้ ตั่งหรือโต๊ะ เตียงและเก้าอี้

เมื่อพิจารณาคำในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า "เครื่องเรือน"

หมายถึงอุปกรณ์ส่วนประกอบหรือของใช้เกี่ยวกับบ้านเรือน

โดยความหมายรวมคือเครื่องอำนวยความสะดวกสบาย

อันเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ภายในบ้าน

เพราะหากไม่มีเครื่องเรือน

ย่อมเป็นเพียงตัวบ้านโครงสร้างว่างเปล่า

ดังนั้นอุปกรณ์ใดๆอันเป็นสิ่งของเครื่องใช้

หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายภายในบริเวณบ้าน

ย่อมหมายถึง "เครื่องเรือน" ทั้งสิ้น

และความหมายโดยรวมนี้เอง

ควรเป็นความหมายที่ครบถ้วนของเฟอร์นิเจอร์

โดยมิได้จำกัดเฉพาะเพียงตู้ ตั่งหรือโต๊ะ เตียงและเก้าอี้เท่านั้น

 

สาระของเฟอร์นิเจอร์จึงอยู่ที่ความสำคัญ

และความสมบูรณ์ในการใช้สอยเฟอร์นิเจอร์นั้น

เพื่ออำนวยความสะดวกสบายได้อย่างครบถ้วน

ตามวัตถุประสงค์ของเฟอร์นิเจอร์นั้นๆ

อันเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต

นอกเหนือจากเครื่องนุ่งห่ม อาหารและยารักษาโรค

เช่น ห้องนอนมีเตียงและที่นอนหรือฟูกและหมอน

เป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับนอนหลับพักผ่อน

ห้องนั่งเล่นมีเก้าอี้นั่งเล่นหรือโซฟาเป็นเฟอร์นิเจอร์

เพื่อสันทนาการสำหรับสมาชิกภายในบ้านและรับแขก

ห้องโถงมีตู้และชั้นวางเป็นเฟอร์นิเจอร์

สำหรับวางเครื่องใช้เครื่องโชว์ เครื่องเสียง โทรทัศน์

ห้องรับประทานอาหารมีโต๊ะเก้าอี้

เป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับนั่งรับประทานอาหาร

ห้องครัวมีชั้น ตู้กับข้าว ตู้เย็น อ่างล้าง

ชั้นวางถ้วยจาน อุปกรณ์เครื่องครัว

เป็นเฟอร์นิเจอร์ในการประกอบอาหาร

ห้องน้ำมีโถสุขภัณฑ์ อ่างอาบน้ำและฝักบัว

เป็นเฟอร์นิเจอร์ในการขับถ่ายและอาบน้ำ

บริเวณสนามรอบบ้านมีโต๊ะเก้าอี้สนาม

ชิงช้า ราวตากผ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์นอกบ้าน

ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆก็เป็นเฟอร์นิเจอร์

ในการอำนวยความสะดวกสบาย

เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น

แผงโซล่าร์ให้พลังงาน หลอดไฟให้ความสว่าง

เครื่องซักผ้า เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น

 

ความหมายจึงอยู่ที่คำว่า "เครื่องเรือน"

หรืออีกนัยหนึ่งคืออธิบายความหมาย

จากคำภาษาอังกฤษว่า "Furniture"

 

กล่าวคือความหมายแรก

หมายถึงรูปแบบที่ปรากฏภายนอกโดยรวม (Form)

ซึ่งหมายรวมถึงแบบ(model) การออกแบบ(design)

ตามชนิด(kind) และแผนผัง(layout)

ของภาพที่ปรากฏ(image) จากภายนอก

และสรีระ(anatomy)ของรูปแบบนั้น

 

จากความหมายแรกนี้เป็นรูปแบบองค์รวม

ที่เราสัมผัสและเห็นได้

เช่นเดียวกับการกำเนิดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง

ตามคัมภีร์เต้าเต๋อจิง(Tao Te Ching)

คือ "เต้า-เฟย-เต้า-เฟย-ฉาง-เต้า"

หรือการกำเนิดหยินและหยางดังรูป

 

 

รูปแบบจึงเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

ในการแสดงในเห็นถึงการก่อเกิดหรือสร้างขึ้น

จากสัดส่วนที่ลงตัวตามสัดส่วนทอง(Golden Ratio)

เท่ากับค่า Phi=1.618

อันเป็นรูปแบบองค์รวมของความการจัดแบ่งลงตัว

ที่ปรากฏขึ้น เช่น หอยทากดังรูป  

 

 

ความหมายที่ซ่อนอยู่ในรูปแบบขององค์รวม

จากสัดส่วนทองนี้ก็คือขนาดและสัดส่วน

ที่สมบูรณ์อย่างลงตัวของเฟอร์นิเจอร์นั้นนั่นเอง

เช่น เก้าอี้และโต๊ะควรมีความสูง

ความกว้างและความยาวที่ได้สัดส่วนกัน

จะทำให้ได้รูปแบบที่สวยงามและใช้งานได้ดี

ในทำนองเดียวกันการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์

เพื่อตกแต่งบ้านเรือนควรจัดหาเฟอร์นิเจอร์

ที่มีขนาดเหมาะสมกลมกลืนกับพื้นที่ในการใช้สอย

โดยมีขนาดไม่เล็กหรือใหญ่

และจำนวนไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

ก็จะทำให้สถานที่นั้นดูดีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

ผู้ออกแบบและช่างเฟอร์นิเจอร์ที่เข้าใจ

การจัดแบ่งด้วยสัดส่วนทอง

จะสามารถสร้างรูปแบบองค์รวมของเฟอร์นิเจอร์นั้น

ได้อย่างสวยงามลงตัวเฉกเช่นเดียวกับช่างวาดภาพ

สามารถสรรสร้างงานศิลป์ได้อย่างสมจริงกลมกลืน

เสมือนสื่อความหมายที่สอดคล้อง

กับการก่อเกิดเป็นรูปแบบองค์รวมนั่นเอง

เช่น ภาพวาดสรีระ(Vitruvian Man)

และภาพโมนาลิซ่า(Mona Lisa)

ของเลโอนาโด ดา วินซี

(Leonardo da Vinci, ..1452-1519)

 

 

โดยมีความลงตัวที่เป็นเอกภาพ(Unity)

หรือเอกภาพองค์รวม(uniformity)

เช่น ภาพราตรีประดับดาว(Starry Night)

ของฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคด

(Vincent Willem van Gogh, ..1853-1890)

 

 

และภาพเสือจากการตวัดภู่กัน

ของท่านอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี(..2482-2557)

 

 เอกภาพองค์รวมนี่เอง

คือความหมายที่สองของเฟอร์นิเจอร์

ซึ่งหมายรวมถึงความสอดคล้องต้องกันอย่างกลมกลืน

(harmoniousness)ที่ปรากฏของสิ่งนั้น

เช่นตัวอย่างเก้าอี้ The Golden Section Chair

โดย James Wilkins

ที่สื่อแสดงความหมายของขนาดและช่องว่าง

เก้าอี้คลาสสิคและเก้าอี้วิลลี่

ของเจ.คลาสแสดงภาพองค์รวมของเก้าอี้

ความหมายที่สามหมายถึง

ความสบายหรือผ่อนคลาย(Relaxation)

ซึ่งหมายรวมถึงความบันเทิงและการตอบสนอง

เพื่อการผ่อนคลายและสันทนาการ(amusement)

เช่นเดียวกับการมองภาพที่ดี

อย่างภาพ"มองไผ่ร่ายกวี"

ของตู้จิ่นสมัยราชวงค์หมิง

 

 

 ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ที่ดี

จึงต้องให้ความรู้สึกสบายหรือผ่อนคลายเมื่อนั่ง

หรือใช้งานในกิจกรรมต่างๆ

เช่น เก้าอี้ปิคนิคของเจ.คลาส

มองเรียบง่าย นั่งสบายและปรับเอนนอนได้

 

 

ความหมายที่สี่หมายถึงโดยธรรมชาติ

หรือเป็นไปตามธรรมชาติ(Natural)

ซึ่งหมายความรวมถึงความเป็นปกติธรรมดา(normal)

การมีสภาพตามความเป็นจริงที่จับต้องได้

หรือเหมือนความเป็นจริงที่มีอยู่จริง

(realistic)และใช้งานได้จริง

เราจะเห็นความจริงข้อนี้ได้

จากเฟอร์นิเจอร์ที่นิยมใช้กันมานาน

มักจะเป็นรูปแบบเรียบง่าย ไม่พิสดาร แต่ใช้งานได้จริง

สะดวกสบายและเหมาะสมตามสภาพ

ข้อนี้เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

ของเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นรูปธรรม

กับรูปภาพศิลปะที่เป็นนามธรรม

เพราะภาพศิลปะส่วนใหญ่ต้องใช้การตีความ

เช่น ภาพ “Woman III”

ของ Willem de Kooning(..1904-1997)

 

 

แต่เฟอร์นิเจอร์ต้องปรากฏชัดเจน

ว่าเป็นเก้าอี้ โต๊ะ เตียง ชั้น ฯลฯ

ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ที่ดีจึงไม่ควรจะพิสดารมาก

จนไม่อาจเข้าใจได้ว่าใช้งานอย่างไร

และเพื่อใช้ประโยชน์ในส่วนไหนของบ้าน

ดังเช่นรูปแบบเก้าอี้และราวแขวน

ของ Michael Thonet (..1793-1871)

ซึ่งเป็นรูปแบบอมตะที่เจ.คลาสนำมาพัฒนาใหม่

โดยใช้วิธีดัดท่อสเตนเลสด้วยเทคนิคพิเศษแบบหวาย

 

 

 

ผู้ที่ออกแบบและผลิตเฟอร์นิเจอร์

จึงต้องสามารถสื่อความหมายทั้งสี่ประการ

ออกมาให้ได้ในรูปแบบเฉพาะของตนเอง

หรืออีกนัยหนึ่งคือแรงบันดาลใจ

(Inspiration)ของผู้ออกแบบ

อันเป็นความหมายที่ห้า

ซึ่งหมายความรวมถึงลักษณะเฉพาะ

หรือความเป็นเอกลักษณ์(Identity)

ของสิ่งนั้นหรือเฟอร์นิเจอร์นั้น

โดยผู้ออกแบบและช่างเฟอร์นิเจอร์

สามารถสื่อความหมายนั้นออกมา

อย่างเป็นรูปธรรมตามความหมายทั้งสี่ประการ

ด้วยความเป็นเอกลักษณ์นี้เอง

ทำให้เฟอร์นิเจอร์ชนิดเดียวกันมีรูปแบบแตกต่างกัน

เช่น เก้าอี้สปอร์ตของเจ.คลาส

ที่พัฒนาจากรูปแบบเดิมที่นั่งกลม

เป็นที่นั่งสี่เหลี่ยม พนักพิงสี่เหลี่ยมดัดโค้ง

ผสมผสานระหว่างสี่เหลี่ยม ท่อกลม

ความโค้งเว้าและช่องว่าง ได้อย่างลงตัว 

 

ความหมายที่หกหมายถึงการทดสอบ(Tested)

ซึ่งหมายรวมถึงได้ประดิษฐ์ขึ้นแล้ว

พร้อมกับการตรวจสอบทดลอง

และผ่านความเห็นอันหลากหลายมาแล้ว

(evaluate, contest, challenge)

เพราะเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งของที่ต้องนำมาใช้ได้จริง

จึงต้องผ่านการทดลองและทดสอบจนมั่นใจ

ว่ามีความแข็งแรงทนทานปลอดภัยในการใช้งาน

 

ประกอบกับสามารถตอบสนองความต้องการ

ในการใช้งานตามสภาพได้อย่างลงตัว

โดยไม่จำกัดเฉพาะส่วนเฉพาะบุคคลและท้องถิ่น

คือทุกคนสามารถใช้ได้เป็นอย่างดี

ตรงตามวัตถุประสงค์แห่งเฟอร์นิเจอร์นั้น

นั่นก็คือความหมายที่เจ็ด

ซึ่งหมายถึงความเป็นสากล(Universal)

หรือนานาชาติ(international)

จนสามารถใช้ได้ทั่วไปเป็นปกติวิสัย(general)

เฟอร์นิเจอร์จึงไม่ถูกจำกัดเฉพาะท้องถิ่นหรือเชื้อชาติ

แต่สามารถใช้ได้ทั่วไปเป็นสากล

ผลิตที่ไหนก็สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก

ผู้ออกแบบและผู้ผลิตจึงต้องเข้าใจความเป็นสากล

ไม่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดผิดเพี้ยน

หรือเป็นการใช้งานที่จำกัดเฉพาะท้องถิ่นอย่างเดียวเท่านั้น

หรืออย่างน้อยต้องสามารถใช้งานทั่วไป

ในอาณาเขตประเทศนั้นๆได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

เช่น ขนาดความสูงของที่นั่ง

ความสูงของโต๊ะ ความลาดเอียงของเก้าอี้

ล้วนเป็นขนาดที่สากลสามารถใช้ได้ทั่วไป

ดังตัวอย่างโต๊ะพับขาโค้ง

และโต๊ะสามพับแบบผีเสื้อของเจ.คลาส

 

 

ความหมายที่แปดหมายถึง

ความสัมพันธ์(Relation)

กับส่วนอื่นหรือเฟอร์นิเจอร์อื่น

ซึ่งหมายถึงการรวมกลุ่ม(association)

ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน(connection)

และยังหมายถึงสามารถรีไซเคิล(recycle)ได้ด้วย

เช่น โต๊ะต้องสามารถใช้งานร่วมกับ

เก้าอี้ประเภทและรูปแบบต่างๆได้

เก้าอี้อาจปรับระดับได้  

 

เตียงต้องใช้งานกับฟูกที่นอนได้ดี

จึงควรมีพื้นเตียงที่เหมาะสมดังเช่นเตียงเจ.คลาส

มีพื้นเป็นแผ่นระแนงและเว้นช่องว่าง

พอดีกับการรับน้ำหนักของฟูก

 

ชั้นวางของต้องสามารถรับน้ำหนัก

และวางสิ่งของขนาดต่างๆได้อย่างเหมาะสม

โดยไม่แคบหรือใหญ่จนเกินไป

เช่น ชั้นตั้งเตาแก๊สและไมโครเวฟของเจ.คลาส 

 

ความหมายที่เก้าหมายถึง

ความเป็นเลิศ(Excellence)

หรือความดีเด่นเป็นเลิศ(superiority)

ซึ่งเป็นความสุดยอดประการสุดท้าย

ของสารัตถะแห่งเฟอร์นิเจอร์

นั่นคือผลที่สุดของเฟอร์นิเจอร์นั้น

ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบแห่งความหมาย

ทั้งแปดประการที่กล่าวมาแล้วได้อย่างชัดเจน

เช่น เก้าอี้สเลนเดอร์ของเจ.คลาส

พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีรูปร่างที่แตกต่าง

จากเก้าอี้พับทั่วไปตั้งแต่รูปร่าง

ทรงขา พนักพิง และระบบการพับ

โดยความหมายรวมทั้งเก้าประการ

ก็คือความหมายตามตัวอักษรของคำว่า

"F-U-R-N-I-T-U-R-E” หรือเครื่องเรือน

อันเป็นองค์ประกอบหรืออุปกรณ์ของเรือน

โดยองค์รวมของสารัตถะจึงเป็นการใช้ประโยชน์

ของเรือนให้ครบถ้วนสมบูรณ์นั่นเอง